จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

กระบวนการผลิตชา "ชาเขียว"

ชาเขียว ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สำหรับชาวจีน
และชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว


     ชาได้ถูกนำมาเป็นเครื่องดื่ม สุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสำหรับชาวจีน และชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว ในระยะไม่กี่ปีมานี้ "กระแสธรรมชาตินิยม" ได้ทวีความรุนแรงขึ้น ... โดย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ ประกอบกับมีการเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของชาเขียว ตามสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดกระแสตอบรับการบริโภคชาเขียว จนปัจจุบันมีผลิตภัณท์ที่มีส่วนผสมของชาเขียวนอกเหนือจากในรูปของชาชงออกมา สู่ท้องตลาดจำนวนมาก

* ต้นชา ชา มีหลายประเภท ชาที่คนไทย คุ้นเคย เห็นจะเป็นชาดำ (หรือชาจีน) ชาเขียว และชาอูหลง ชาเหล่านี้ต่างก็มาจากต้นชาชนิดเดียวกัน ที่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Camellia chinensis ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เจริญ ในแถบพื้นที่สูง อากาศหนาวเย็น มีลักษณะใบเล็ก โดยใบมีขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาวประมาณ 3 นิ้ว ส่วนอีกสายพันธุ์เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในภูมิอากาศร้อนปานกลาง มีลักษณะใบที่ใหญ่กว่า ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 10 นิ้วโดยประมาณ ส่วนของต้นชาที่ใช้เป็นเครื่องดื่มคือส่วนใบบริเวณยอด ซึ่งจะให้ชาที่มีคุณภาพดีที่สุด จึงนิยมรักษาระดับของต้นชาให้สูงประมาณ 3 - 5 ฟุตเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และใช้มือมนุษย์ในการเก็บใบชาเพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพดี

 * กระบวนการผลิตชา ใบ ชาแต่ละสายพันธุ์สามารถนำมาผลิตเป็น ชาเขียว ชาดำ หรือชาอูหลงก็ได้ ทั้งนี้ชาแต่ละชนิด มีความแตกต่างกันในแง่กระบวนการผลิต โดยชาเขียวเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะนำไปอบไอน้ำทันที เพื่อทำลาย oxidizing enzymes (เช่น polyphenol oxidase และ peroxidase) ป้องกันการเกิดกระบวนการหมัก ก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง ทำให้ใบชายังคงสีเขียวอยู่ ส่วนชาดำและชาอูหลงนั้น หลังเก็บเกี่ยวแล้วนำใบชาไปผึ่งลมนาน 5 - 20 ชั่วโมง ทำให้เกิดกระบวนการหมักโดย oxidizing enzymes โดยชาดำจะใช้เวลาหมักนานกว่าชาอูหลง ทำให้ใบชาเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล เมื่อชงน้ำจะมีรสเข้มข้นและมีกลิ่นหอมฉุนกว่าชาเขียว ดังนั้น ชาเขียวจึงจัดเป็น nonfermented tea ส่วนชาอูหลงและชาดำถือเป็น semi-fermented tea และ fermented tea ตามลำดับ

* สารสำคัญในชาเขียว ใน ใบชาเขียวมีสาร polyphenols ที่มีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลังในปริมาณสูง (30 - 35 % ของน้ำหนักใบชาแห้ง) เชื่อว่าสาร polyphenols นี่เองที่เป็นสารสำคัญและดีต่อสุขภาพ สาร polyphenols นี้รวมถึงสาร flavonoids (ซึ่งมักพบได้ทั่วไปในผัก ผลไม้) ส่วนสาร catechins ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญเป็น flavonoids ชนิดพิเศษที่พบในชา เนื่องจากชาเขียวไม่ผ่านกระบวนการหมัก จึงยังคงรักษาสารสำคัญไว้ได้ในปริมาณสูง พบว่าในชาเขียวมีปริมาณ catechins ประมาณ 10 - 18% ของน้ำหนักใบชาแห้ง ในขณะที่ชาดำมี catechins ประมาณ 3 - 5 % ของน้ำหนักใบชาแห้ง แสดงว่าการหมักมีการทำลายสาร catechins นอกจากนี้นักวิจัยยังสามารถแยกสาร catechins ออกได้เป็น 5 ชนิด คือ 1. gallocatechin (GC) 2. epicatechin (EC) 3. epigallocatechin (EGC) 4. epicatechin gallate (ECG) 5. epigallocatechin gallate (EGCG) โดย EGCG ถือเป็น catechins ที่ทรงพลัง ที่สุด นอกจากนี้ ใบชาเขียวยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี วิตามินอี และฟลูออไรด์ ชาเขียวที่มีคุณภาพดีจะมีปริมาณกรดอะมิโนสูงแต่มี แทนนินต่ำ ในทางตรงข้าม ชาดำและชาอูหลงที่ดีจะมีปริมาณแทนนินสูง ชาเขียวมีรสชาติเฉพาะตัว จะมี รสฝาดน้อย เมื่อนำมาทำเป็นชาเขียว จะทำให้น้ำชามีสีเขียวอ่อนปนน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะ สามารถนำมาปรุงแต่งสี กลิ่นและรสสำหรับผลิตภัณฑ์หลายๆ ชนิดได้อย่างลงตัว เนื่องจากละลายน้ำได้ดี มีกลิ่นหอม และรสชาติดี
  • ชาเขียว - ต้านอนุมูลอิสระ ดัง ที่กล่าวข้างต้นว่าชาเขียว มีสารแอนติออกซิแดนซ์ ที่ทรงพลังในปริมาณสูง สารแอนติออกซิแดนซ์นี้สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง สารสกัดจากชาเขียวจึงป้องกันอันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของอนุมูลอิสระในร่างกาย ได้
  • ชาเขียว - ป้องกันโรคมะเร็ง จาก การศึกษาทางระบาดวิทยาในปี ค.ศ. 1970 พบว่า ชาวญี่ปุ่นในเมืองชิโอสุกะมีอัตราส่วนของประชากรที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะ อาหารต่ำกว่า ชาวญี่ปุ่นในเมืองอื่น และชาวเมืองชิโอสุกะมีอาชีพปลูกชาเขียวและมีการบริโภคชาสูงกว่าชาวญี่ปุ่นใน เมืองอื่น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการ ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคชาเขียวกับ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งที่ลดลง หรือ อีกนัยหนึ่งชาเขียว มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริงหรือมีรายงานการทดลอง โดยให้หนูทดลองบริโภคสารละลาย polyphenols แต่ละชนิดและฉีดสารก่อมะเร็งเอ็น เอ็นเค ผลปรากฏว่า EGCG สามารถลดเปอร์เซนต์การก่อตัวเป็นมะเร็งได้ดีที่สุด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า catechins มีบทบาทสำคัญ คือ ช่วยลดภาวะเป็นพิษของสารก่อมะเร็ง บางชนิด แทรกแซงกระบวนการเกาะยึดของสารก่อมะเร็งต่อ DNA ของเซลล์ปกติ สรรพคุณที่เป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลัง เสริมการทำงานกับสารแอนติออกซิแดนซ์และ enzymes อื่นๆ และจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก
  • ชาเขียว - ลดระดับไขมันในเลือด ได้ มีการทดลองให้หนูบริโภคอาหารที่มี โคเลสเตอรอลสูง เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ได้อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงพร้อมกับได้รับ catechins พบว่า catechins สามารถลดปริมาณการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้ นอกจากนี้ มีรายงานการทดลอง แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัคร ชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียววันละ 9 ถ้วย สามารถลด ระดับโคเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ชาเขียว - ลดระดับน้ำตาลในเลือด Catechins ในชาเขียวมีประสิทธิภาพในการจำกัดการทำงานของ amylase enzyme ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย ผลทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้น จากการทดสอบในหนูทดลอง พบว่า catechins ช่วยลดระดับกลูโคส และระดับอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อทำการวิจัย ในอาสาสมัครโดยให้ catechins 300 มิลลิกรัม ตามด้วยการบริโภคแป้งข้าว 50 กรัม พบว่าระดับกลูโคสและระดับอินซูลินในเลือดไม่สูงขึ้นดังที่ควรจะเป็น
  • ชาเขียว - ช่วยลดน้ำหนัก จาก ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การดื่มชาเขียววันละ 2 ถ้วย ช่วยลดการเกิดไขมันส่วนเกิน และทำให้รู้สึกอิ่ม ในการทดลอง เมื่อให้หนูบริโภคอาหารปกติและเสริมด้วยสารสกัดชาเขียว พบว่าการสะสมไขมันในหนูลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่เมื่อให้อาหารเสริมชาเขียวต่อไปนานๆปริมาณไขมันกลับไม่ลดลงต่ำจนผิดปกติ
  • ชาเขียว - รักษาสุขภาพช่องปาก การ เกิดฟันผุเป็นผลมาจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ในช่องปากทำปฏิกิริยากับน้ำตาล ได้เป็นสารกลูแคนมีลักษณะเหนียวข้น ไม่ละลายน้ำ เคลือบอยู่ที่ฟัน แล้วเชื้อจุลินทรีย์จะใช้กลูแคนนี้เป็นอาหาร ในระหว่างกระบวนการเมตาโบลิซึม เกิดการสร้างกรดซึ่งไปทำลายสารเคลือบฟันเป็นสาเหตุให้ฟันผุ จากการทดสอบในห้องปฎิบัติการพบว่า สาร catechins สามารถยั้บยั้งกระบวนการผลิตกลูแคนของเชื้อ S. mutans ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า การดื่มชาเขียวหลังมื้ออาหารสามารถป้องกันโรคฟันผุได้

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียว นอกจากอาหาร ได้แก่ ขนมปัง เค้ก ขนม ขบเคี้ยว ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง ลูกอม ฯลฯ ที่นำชาเขียวมาใช้แต่งกลิ่น สีและรสชาติของอาหารแล้ว เพื่อสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาด นับตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง สบู่ เกลืออาบน้ำ โลชั่น ครีม น้ำยาดับกลิ่นกาย ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และเครื่องสำอางต่างๆ นอกจากนี้มีการนำสรรพคุณของชาเขียวในการเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ที่ทรงพลังมา ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหม็นหืนเร็ว มีการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ในการนำสารสกัดจากชาเขียวมาใช้เป็นสารกัน บูดสำหรับอาหารสดไปจนถึง การนำชาเขียวมาผสมกับ เส้นใยผ้า เป็น "antimicrobial fiber" สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น และมีการนำไปใช้เป็น ส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศสำหรับเครื่อง ปรับอากาศ นับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ และ เข้ากับกระแสนิยมทีเดียว...แต่ก็อย่าทานเยอะเกินไปล่ะ เพราะการดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้ นอกจากนี้สารแทนนินที่อยู่ในชาเขียวทำให้เกิดรสขมนั้น อาจทำให้ท้องผูกได้ คาเฟอีนในชาเขียวอาจทำให้เกิดอ าการนอนไม่หลับ เนื่อง อย่างไรก็ตาม ชาเขียวยังมีคาเฟอินน้อยกว่ากาแฟ คือประมาณ 30-60 มก. ต่อชา 6-8 ออนซ์ เมื่อเทียบ กับจำนวน คาเฟอินกว่า 100 มก. ที่พบในกาแฟ 

ติดต่อสอบถามได้ทุกวันทำการ 
ติดต่อคุณฐาน์ณัฐ 
โทรศัพท์ : 086-988-4754(สาย1)
         099-294-6122(สาย2) 
Line ID : 0869884754 
อีเมลล์ :endor_oil@hotmail.com , mgmgrandproduction@hotmail.com
เว็บไซต์บริษัท : 

ไม่มีความคิดเห็น:

Translate

บทความที่ได้รับความนิยม